แนวระทึกขวัญ
8/10 คุกจำลองดูดตัวตน
ผู้กำกับหนัง Kyle Patrick Alvarez
คุณคิดว่า กิจกรรมรับน้องใหม่
มีความชอบธรรมไหม โดยเฉพาะเหตุผลเรื่องต้องการสานสัมพันธ์ระหว่างรุ่น
คุณอาจเห็นด้วย และไม่ได้สงสัยในพิธีกรรม ที่ปฏิบัติกันแต่โบราณกาล
ซึ่งบางอย่างก็เข้าท่า บางอย่างก็ท่าเหลว บางอย่างก็ท่าจะเจ็บตัว
บางทีถึงขั้นลุอำนาจไปละเมิด สรีระ ก็มี แต่คุณก็ผ่านมันไปได้อย่างตะขิดตะขวงใจ
จนกระทั่งคุณได้กลายมาเป็นรุ่นพี่ ที่ต้องสืบสานวัฒนธรรมพระเจ้าเหง๋า
คุณจะปฏิเสธมันไหม ถ้าคิดว่ากิจกรรมนี้ไม่ได้มีไว้ใช้สานสัมพันธ์ตามข้ออ้างจริงๆ
สิ่งที่มาควบคู่กับกิจกรรมรับน้องเสมือนจูงมือเจ้าสาวเข้าประตูวิวาห์
ก็คือ เราได้มารับรู้ โครงสร้างอำนาจระหว่างรุ่น ที่ชักใยให้เราอยู่ภายใต้มัน
ประหนึ่งโดนทรายดูด ผ่านสถานะผู้เล่นอย่างรุ่นน้อง กับรุ่นพี่,รุ่นอาวุธโสหรือรุ่นผู้เฒ่า(ถ้ามี)เกาะกลุ่ม
หมุนเวียน
บทบาทพลัดกันใช้อำนาจมากบ้างน้อยบ้างตามลำดับประหนึ่งอำนาจตามยศฐานันดรของโบราณ
จึงไม่ใช่เรื่องผิดแปลกประการใด ตอนเรายังเป็นรุ่นน้อง
และตะขิดตะขวงใจยามเมื่อตัวเองไร้อำนาจ ขณะเดียวกันก็ยังไม่สะกิดใจสงสัย
การลุอำนาจ อีกด้วย โดยหนัง The Stanford Prison Experiment เรื่องนี้
จะพาเราเข้าไปสู่วังวนแห่งอำนาจและโครงสร้างที่กำกับตามบทบาทสถานะ ประหนึ่ง
ส่วนต่างๆของสรีระ โดยทิ้งความสงสัยไว้หลังความชอบธรรมบางอย่างของมัน
คือเรื่องราว การศึกษา ทดลอง
ของศาสตราจารย์ Philip Zimbardo ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาของมหาวิทยาลัย
Stanford ที่ใช้ช่วงปิดเทอมฤดูร้อน
วิจัย เพื่อหาข้อสรุปสาเหตุความขัดแย้งระหว่าง ผู้คุมกับนักโทษ
โดยคัดเลือกผู้ที่ผ่านเกณฑ์พิจารณา เข้าสวมบทบาทผู้คุมและนักโทษ
ภายใต้สถานการณ์จำลองของจริง จนนำไปสู่สภาวะตึงเครียด
เมื่ออาสาสมัครไม่คิดว่านี้คือ การจำลอง
หนังสร้างจากเหตุการณ์จริง
การค้นคว้าทดลองทางจิตวิทยาช่วง ค.ศ.1971 ของศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา
มหาวิทยาลัย Stanford
ที่สนใจศึกษาพฤติกรรมมนุษย์
โดยเหตุการณ์ครั้งนั้นถูกนำไปถ่ายทอดผ่านจินตนาการของนักเขียนชาวเยอรมันนาม Mario Giordano ในนวนิยายเรื่อง
Black Box จนถูกอะแดปลงสู่แผ่นฟิล์มครั้งแรกผ่านเรื่อง
Das Experiment(2008)และอีกครั้ง
The Experiment(2010)จนกระทั่งเรื่องล่าสุด
โดยเนื้อหาหนังล่าสุดนี้
ไม่ได้อะแดปผ่านนวนิยายของนักเขียนชาวเยอรมันเลย แต่นำเอาคำบอกเล่า มูลเหตุเมื่อ ค.ศ.1971 มาถ่ายทอดลงสู่แผ่นฟิล์ม
ซึ่งเน้นหนักไปในทางสร้างความรู้สึกเร้าอารมณ์ กดขี่ กดทับ ของคนดู
ที่มีต่อการลุอำนาจของตัวละครฝ่ายผู้คุมและสภาพสภาวะจำยอมของนักโทษ
เพื่อทำให้เราเห็นภาพ การใช้อำนาจเกินขอบเขต และผลักให้เนื้อหาเดินต่อไป เหมือนกับการเร้าอารมณ์คอทางการเมืองให้พุ่งปรี๊ด
เมื่อพูดถึงเรื่องทักษิณ แล้วทุกอย่างก็ตามมาเป็นขบวน
ปัญหาหลักๆ คือ
หนังพูดถึงความเปลี่ยนแปลงของตัวละคร คือ จากคนปกติภายใต้สถานการณ์จำลอง
ไปสู่สภาวะเปลี่ยนแปลงของตัวละคร แทบไม่ต่างจากสภาวะถูกทรายดูดเข้าสู่ ระบบรับน้อง
ซึ่งหนังสวมบทบาทให้ตัวละครต่างเป็นผู้มีอำนาจกับไร้อำนาจ
โดยทำให้เราเห็นปมปัญหาเมื่อตัวละครไม่คิดว่านี้คือสถานการณ์จำลองอีกต่อไป
และโยนระเบิดมือ เชิงสรุปใน ปม
ผ่านมุมของตัวละคร ที่ได้พูดคุยถกเถียงกัน ตอกกลับความรู้สึกคนดูประหนึ่งสลักมือถูกปล๊ดล๊อค
ตูมตามจิตใจ ที่ชิงชังในสถานการณ์ลุอำนาจ และการปล่อยให้เขาลำพองใจในอำนาจ
เหมือนดั่งรุ่นพี่ไปละเมิดร่างกายรุ่นน้อง
ขณะเดียวรุ่นน้องก็ไม่ท้วงติงปล่อยให้เขาลำพองใจ นั้นเอง
ส่วนความยอดเยี่ยมขององค์ประกอบหนังอื่นๆแทบไม่ต้องพูดถึง
แหละนี้คือการป๊อก ป๊อกหนัง The Stanford Prison Experiment เรื่องนี้
ตัวอย่างหนัง
จาก Zero Media
สารคดีของเรื่องราวเหตุการณ์นี้
จาก TheAnswerto1984is